อาร์กอน (Argon Gas)

Argon Gas




    

     อาร์กอนเป็นแก๊สเฉื่อยที่พบมากในบรรยากาศของโลก คิดเป็นประมาณ 0.93% ของอากาศที่เราหายใจ ด้วยคุณสมบัติที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆ ทำให้ Argon Gas มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมการเชื่อม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และการวิจัยทางการแพทย์
     ซึ่งอาร์กอนนั้นสามารถละลายในน้ำได้เช่นเดียวกับออกซิเจนและทำละลายในน้ำได้มากกว่าไนโตรเจนถึง2.5เท่า สิ่งสำคัญอาร์กอนเป็นธาตุที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ และไม่เป็นพิษ ทั้งสามสถานะคือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส และถึงแม้ว่าอาร์กอนจัดเป็นแก๊สเฉื่อยแต่อาร์กอนก็ยังสามารถทำปฏิกิริยากับธาตุบางตัวเป็นสารประกอบ (argon compound substance) ได้เช่นกัน บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับคุณสมบัติ ประโยชน์ความปลอดภัยการใช้งาน และการจัดเก็บ Argon Gas กัน !




คุณสมบัติ

  • เป็นธาตุในกลุ่มก๊าซเฉื่อยในตารางธาตุ มีเลขอะตอม 18 และน้ำหนักอะตอม 39.948เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส
  • ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีอื่นๆ ทำให้เป็นที่นิยมใช้ในสภาพแวดล้อมที่ต้องการความบริสุทธิ์และการป้องกันปฏิกิริยาเคมี
  • มีจุดเดือดที่ -185.8 °C และจุดหลอมเหลวที่ -189.3 °C ซึ่งทำให้สามารถเก็บในรูปของเหลวได้ที่อุณหภูมิต่ำ

ประโยชน์และความสำคัญ

  • การเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการผลิต 
Argon Gas ช่วยลดการปนเปื้อนและการเกิดออกซิเดชัน ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงขึ้นและลดการสูญเสียจากกระบวนการผลิต นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ

  • ความปลอดภัยและความสะอาดในการใช้งาน
ด้วยความที่เป็นแก๊สที่ไม่เป็นพิษและไม่มีปฏิกิริยากับสารเคมีอื่น ทำให้ปลอดภัยต่อการใช้งานและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้การใช้งาน Argon Gas ยังช่วยรักษาความสะอาดและความบริสุทธิ์ของสภาวะแวดล้อมในการทำงาน




การใช้งาน

  • อุตสาหกรรมการเชื่อมและตัดโลหะ
  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์
  • การใช้งานในด้านการวิจัยและการแพทย์


ความปลอดภัย

     ถึงแม้ว่าอาร์กอนจะไม่เป็นพิษ แต่อาร์กอนมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศถึง 38% ดังนั้นอาจจะเป็นอันตรายได้เมื่ออยู่ในสถานที่ปิด เพราะจะทำให้หายใจไม่ออกและหมดสติ ซึ่งอาร์กอนนั้นยากที่จะตรวจจับได้ เพราะ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส โดยเคยมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นย้อนไปเมื่อปี 1994 มีชายคนหนึ่งสลบหลังจากเข้าไปทำงานในท่อและภายในท่อนั้นเต็มไปด้วยอาร์กอน การป้องกันคือต้องจำกัดพื้นที่การใช้อาร์กอนและเน้นให้มีการใช้พื้นที่เก็บและการจัดการที่เหมาะสม




การดูแลรักษาและจัดเก็บท่อแก๊สอาร์กอน

     ก่อนใช้งานจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้เข้าใจ เพราะอันตรายที่เกิดจากท่อแก๊สแรงดันสูงมีสูงมากบุคคลที่ทำงานกับท่อบรรจุแก๊สจะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการอบรมเรื่องการใช้ท่อบรรจุแก๊สความดันสูงมาแล้วเท่านั้น วิธีหลักๆที่ใช้เก็บรักษาท่อแก๊สอาร์กอน

  • หลังการใช้งานควรปิดวาล์วให้สนิทและทำตามฉลากคำแนะนำที่ติดไว้ข้างท่อและแม้ใช้แก๊สหมดแล้วก็ยังจำเป็นต้องปิดวาล์วเช่นเดิม
  • ไม่ควรดัดแปลงวาล์ว เพราะจะทำให้เกิดอันตรายจากแรงดันภายในท่อได้ หากจำเป็นต้องใช้วิธีที่แตกต่างจากเดิมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน
  • จะต้องเตรียมข้อปฏิบัติฉุกเฉินให้พร้อมที่จะแก้ไขเมื่อเกิดอันตรายขึ้น
  • จะต้องสวมถุงมือที่มีคุณภาพดีเพื่อที่จะเคลื่อนย้ายท่อบรรจุแก๊สอาร์กอน กรณีที่ท่อมี Cap หรือฝาครอบวาล์วห้ามดึงออกเมื่อยังไม่มีการใช้งานและใช้ล้อเข็นในกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายท่อในระยะใกล้
    • กรณีที่ท่ออาร์กอนมี Cap หรือฝาครอบวาล์วของท่อบรรจุแก๊สอาร์กอนจะถอดออกได้ต่อเมื่อได้เคลื่อนท่อมาชิดกับผนังหรือโครงเหล็กที่มีลักษณะเป็นคอกที่จัดเก็บเรียบร้อยแล้วหรือตั้งอยู่ในบริเวณที่พร้อมจะใช้งานและควรจัดเก็บท่อแก๊สอาร์กอนให้ห่างจากลิฟท์บันได ประตู และทางเดิน อย่าวางท่อในบริเวณที่ท่อจะกลายเป็นสื่อไฟฟ้าได้
  • ก่อนที่จะต่อท่อบรรจุแก๊สอาร์กอนเพื่อใช้งานจะต้องแน่ใจว่าไม่มีแก๊สอาร์กอนค้างอยู่ในไลน์ไหลย้อนกลับเข้าสู่ท่อบรรจุแก๊สอาร์กอนได้
  • ไม่ควรนำท่อที่บรรจุแก๊สอาร์กอนความดันสูง มากลิ้งหรือใช้เป็นที่รองของหรือใช้งานอื่นใดนอกจากใช้บรรจุแก๊สอาร์กอนเพียงอย่างเดียว
  • สถานที่เก็บรักษาจำเป็นต้องเป็นอาคารที่มีผนังและกำแพงกันไฟซึ่งต้องสามารถทนไฟได้
  • พื้นต้องแข็งแรงพอต่อการรับน้ำหนักท่อบรรจุแก๊สอาร์กอน
  • ควรมีประตูทางออกฉุกเฉินหรือทางออกนั้นต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง เพราะถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถวิ่งไปยังทางออกได้รวดเร็ว รวมทั้งเวลาขนย้ายผลิตภัณฑ์ก็จำเป็นต้องเคลียร์พื้นที่ให้เข้าออกได้สะดวก
  • หลังคาต้องแข็งแรงถูกต้องตามาตรฐาน สามารถกันฝนได้และต้องออกแบบให้มีการระบายความร้อนและควันขณะเกิดไฟไหม้
  • ระบบระบายอากาศต้องสร้างระบบที่ดีโดยคำนึงถึงประเภทของสารเคมีและอันตรายที่เกิดขึ้นได้ซึ่งจะเป็นระบบระบายอากาศแบบธรรมชาติหรือแบบวิธีกลก็ได้
  • ระบบไฟฟ้า แสงสว่าง อุปกรณ์ไฟฟ้า จำเป็นต้องสร้างความปลอดภัยในจุดที่จำเป็นให้เพียงพอ ไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้อื่นได้
  • ระบบเตือนภัย จำเป็นต้องติดตั้งไว้เมื่อเวลาเกิดเหตุไม่คาดฝันเราสามารถแจ้งเตือนคนที่อยู่ในโรงงานให้รู้ตัวและหาทางออกไปที่ปลอดภัย ซึ่งการเลือกระบบเตือนภัยนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของโรงงาน
  • อุปกรณ์ดับเพลิงและระบบน้ำดับเพลิง ทุกโรงงานต้องมีติดไว้ในที่ๆมองเห็นและจับต้องได้สะดวก